วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน

อาเซียน





ประวัติความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม




วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
          1. เพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความกว้าหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
          2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          3. เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการคมนาคมขนส่ง
        4. เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา วิทยาการ อาชีพ และการบริหาร




ประเทศสมาชิก
        มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย  บรูไน  เวียดนาม  ลาว พม่า  และกัมพูชา

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่อง กล้วยๆ



กล้วย


กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย


ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที 
  ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรคเลยค่ะ ส่วนจะช่วยป้องกันโรคใดได้บ้างนั้นราไปหาข้อมูลมาให้แล้ว ดังนี้
1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
3. กำลังสมอง มีงานวิจัยในกลุ่มนักเรียน 200 คน โรงเรียน Twickenham พบว่ากินกล้วยมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปี ด้วยการจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น
4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try Potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น Rerotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง
6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้
8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้
10. ระบบประสาท วิธีควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วยสารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้
11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย




 



ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย
ในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า
  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์


การปลูกกล้วย



การปลูกกล้วยควรเลือกช่วงฤดูฝนจะเหมาะที่สุด  โดยเริ่มปลูกเมื่อแรกฤดูฝนมาเยือน 
หลังจากนั้นประมาณ  1  เดือนฝนจะตกชุกมากขึ้น  กล้วยก็จะผลิยอดอ่อนและเติบโต
ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การปลูกกล้วยอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ช่วงที่กล้วยออกผลแล้ว  ซึ่งโดยธรรมชาติเมื่อกล้วยออกหน่อจะเริ่มแทงขึ้นมาใหม่  เมื่อเก็บผลแล้วชาวสวนจะเลือก
หน่อที่แข็งแรงสมบูรณ์  โดยเลือกหน่อใบดาบ(หน่อใบแคบ)  ที่สูงประมาณ 40-50  เซนติเมตรไปขยายพันธุ์ปลูกต่อไป
          วิธีการปลูกกล้วย
ชาวสวนมีวิธีการปลูกกล้วยอยู่  2  ลักษณะด้วยกัน  คือ
1.ปลูกแบบแห้ง
2.ปลูกแบบน้ำ
           การปลูกกล้วยแบบแห้ง
การปลูกกล้วยแบบแห้งจะเริ่มที่ชาวสวนลงมือกำจัดวัชพืชที่มีอยู่บนแปลงยกร่องจนหมด  จากนั้นขุดพลิกฟื้นดินใหม่ทั้งสวน  ปล่อยดินตากแดดไว้ประมาณ  1  สัปดาห์  จากนั้นจึงลงมือ
ขุดหลุมปลูกกล้วย การขุดหลุมปลูกกล้วยนิยมขุดหลุมให้มีขนาดประมาณ  20×20  เซนติเมตร  ลึกประมาณ  50  เซนติเมตร  ใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอกรองก้นหลุมให้สูงประมาณ  20  เซนติเมตร  จากนั้นนำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกหมดแล้วลงไปในหลุม  กลบดินพอหลวมๆ  ก่อนแล้วค่อยๆ  เหยียบดินรอบโคนต้นให้แน่น  จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
         การปลูกกล้วยแบบน้ำ
การปลูกกล้วยแบบน้ำเป็นวิธีการปลูกกล้วยหอมทอง  ซึ่งจะไม่ขออธิบายในที่นี้  ถ้าท่านสนใจกรุณาอ่านได้จากหนังสือการทำกล้วยหอม  ซึ่งจะแนะนำวิธีการปลูกกล้วยแบบน้ำโดยละเอียด
ขั้นตอนการปลูกกล้วยน้ำว้ามีเพียงเท่านี้